วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

BOI Fair











BOI Fair
ระยะเวลาการจัดงาน: 5 – 22 มกราคม 2555
สโลแกน: โลกสดใส ไทยยั่งยืน
แนวคิด: การผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีและการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า เพื่อนำไปสู่การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน และเพื่อสนองแนวคิดและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เป้าหมาย: เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 และเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศ รวมทั้งเพื่อแสดงศักยภาพและความมีเสถียรภาพของประเทศไทยให้ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก
สัญลักษณ์
สะท้อนภาพลักษณ์ที่สอดคล้องกับแนวคิดหลัก 3 ประการของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยได้ผสมผสานทฤษฎี 3Rs คือ Reduce (การลดการใช้) Reuse (การใช้ซ้ำ) และ Recycle (การนำกลับมาใช้ใหม่) การใช้พลังงานหมุนเวียน และการพัฒนาสภาวะแวดล้อมที่ปลอดมลพิษเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปสู่การสร้างสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนของมนุษยชาติ
เอกลักษณ์ของงาน
เอกลักษณ์ของงาน (Mascot) ได้นำ ช้างซึ่งเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจนมาใช้ โดยได้ปรับรูปแบบของ Mascot ที่ใช้ในงาน BOI Fair 2000 ซึ่งเป็นช้างน้อยบินอย่างมีความสุข ให้เติบโตและมีความโดดเด่นขึ้น เพื่อต้อนรับการพัฒนาและการลงทุนอย่างยั่งยืนเพื่อโลกสีเขียว

พื้นที่การจัดงาน
งาน บีโอไอแฟร์ 2011” จะจัดแสดงในพื้นที่ภายนอกอาคารและภายในอาคาร รวมทั้งสิ้นประมาณ 240,000 ตารางเมตร
พื้นที่นอกอาคาร บริเวณริมทะเลสาบเมืองทองธานี ครอบคลุมเนื้อที่ 166,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย ศาลาศรัทธาศรม ศาลาประเทศไทย ศาลาบีโอไอ ศูนย์ประสานงานบีโอไอแฟร์ 2011 และศาลานิทรรศการกลางแจ้ง (Outdoor Pavilion) ของบริษัทชั้นนำต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 84 ศาลา โดยแต่ละศาลาจะมีพื้นที่ประมาณ 500 ตารางเมตร เพื่อใช้จัดแสดงเทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมถึงมีพื้นที่ส่วนกลางสำหรับจัดกิจกรรมบันเทิง และการแสดงต่างๆ
พื้นที่ในอาคาร แบ่งเป็นสองส่วน ประกอบด้วย
- อาคาร 9 มีพื้นที่ประมาณ 11,000 ตารางเมตร จัดสรรสำหรับการจัดประชุมใหญ่ต่างๆ ได้แก่ การประชุมที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ด้านการลงทุน (HIA Meeting) การประชุมผู้นำและนักธุรกิจจากนานาประเทศ (CEO Forum) ห้องประชุมสำหรับสัมมนาวิชาการกว่า 200 หัวข้อ รวมทั้งมีการแสดงงาน เทคโนมาร์ท อินโนมาร์ท 2011” ซึ่งจัดโดย
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- อาคารชาเลนเจอร์ 1-3 เป็นพื้นที่แสดงนิทรรศการภายในอาคาร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 60,000 ตารางเมตร ใช้สำหรับการแสดงนิทรรศการและจำหน่ายสินค้าจากหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น เกษตร อาหาร เครื่องดื่ม แฟชั่นและเครื่องประดับ สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ ของตกแต่งบ้าน โดยบริเวณทางเข้า
ชาเลนเจอร์ จะเป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือสสปน. และการจัดแสดงนิทรรศการจากหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม ในพื้นที่ 2,000 ตารางเมตร
        สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า พื้นที่ประมาณ 1,000 ตารางเมตร
บีโอไอแฟร์ 2011” ถือเป็นงานนิทรรศการครั้งยิ่งใหญ่ในรอบทศวรรษ ซึ่งนอกจากจะนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมล้ำสมัยสำหรับสร้างแบรนด์สีเขียว (Green Branding) ของภาคเอกชนแล้ว ยังเป็นเวทีประกาศพันธสัญญา (Green Commitment) ของภาคอุตสาหกรรมที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อร่วมผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

แผนผังงาน BOI  Fair

ศาลาศรัธทราศรม
อาคารจำลองรูปแบบเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์สีทองอร่าม ภายในจัดแสดงนิทรรศการการเรียนรู้ธรรมชาติ ทั้งน้ำ ป่า และดิน รวมถึงแนวพระราชดำริและหลักการทรงงานที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ ผ่านสื่อผสมหลายรูปแบบ ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจัดมา กำเนิดแห่งน้ำ ใช้เทคนิค Multiple Screen แสดงถึงอิทธิพลของน้ำที่มีต่อมนุษย์
รู้จักน้ำ เข้าใจน้ำ อยู่กับน้ำเล่าเรื่องราวผ่านก้อนเมฆและต้นไม้ด้วยเทคนิค Video Mapping เพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจธรรมชาติ ทั้งด้านบวกและด้านลบ เพื่อให้รู้จักการดำเนินชีวิตอยู่กับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
นิทรรศการเรื่องป่านำเสนอแนวพระราชดำริเรื่องป่า ในลักษณะ Interactive
นิทรรศการเรื่องน้ำนำเสนอแนวพระราชดำริในการแก้ปัญหาเรื่องน้ำ ทั้งน้ำแล้ง น้ำท่วม และ น้ำเสีย ในลักษณะ Interactive
นิทรรศการเรื่องดินนำเสนอแนวพระราชดำริเรื่องดิน เช่น ทฤษฎีแกล้งดิน การปลูกหญ้าแฝกเพื่อดูแลรักษาดิน โดยมีโมเดลจำลองชั้นดิน ผนังดิน และรากหญ้าแฝก
นิทรรศการเรื่องคนนำเสนอแนวพระราชดำริในการพัฒนาอาชีพให้สามารถเลี้ยงดูตนเองได้ มีชีวิตอย่างพอเพียง ควบคู่ไปกับการรู้จักรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้ดำรงอยู่ได้อย่างเกื้อกูลกัน โดยมีโมเดลจำลองและ Animation เกษตรทฤษฎีใหม่
บทสรุป “สายน้ำ สายฝนแห่งชีวิต”เป็น Mini Theater จอภาพขนาดใหญ่ ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านบทเพลงพระราชนิพนธ์ “สายฝน” (ความยาว 7 นาที) โดย Ms.Kseniya Simonova, Sand Artist วัย 26 ปี ที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลก ซึ่งบินตรงมาจากประเทศยูเครน เพื่อแสดงให้ผู้ชมตระหนักถึงพระวิริยะอุตสาหะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงอุทิศพระวรกายเพื่อพสกนิกรของพระองค์ เปรียบเสมือนสายน้ำที่ฉ่ำเย็นในยามที่ชีวิตมีแต่ความแห้งแล้ง ผลแห่งน้ำพระราชหฤทัย คือ ความสุขใจของคนไทยทั้งแผ่นดิน เป็นบทสรุปที่นำมาสู่ความมุ่งมั่นที่พวกเราต้องร่วมกันรักษาและสืบสานสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มต้นไว้ต่อไป
นิทรรศการกลางแจ้งมีประติมากรรมและนิทรรศการ/กิจกรรมการเรียนรู้ 4 เรื่อง คือ มหัศจรรย์แห่งข้าว 1 เมล็ด น้ำ 1 หยด ต้นไม้ 1 ต้น และมาตราชั่งตวงวัด พร้อมชมภาพยนตร์สั้น “เรื่องเล่าของข้าวไทย” ในช่วงเย็นของทุกวัน
โซนจำหน่ายผลิตภัณฑ์โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โครงการหลวง มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ร้านภูฟ้า ร้านจิตรลดา มูลนิธิสายใจ



ไทย และร้านภัทรพัฒน์) โดยเน้นสินค้าเกษตรกรรมที่สดใหม่ และผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากชาวบ้าน นับเป็นครั้งแรกที่ทุกมูลนิธิ/โครงการ ใช้ระบบบริหารจัดการแบบเดียวกันในรูปแบบ Farmers’ Market ที่ทันสมัย





ศาลาบีโอไอ
การแสดงชุด Harmonization of Inspiration & Technology (บริเวณหน้าอาคาร) เป็นการแสดงที่สอดประสานกันระหว่างจินตนาการของมนุษย์และเทคโนโลยีอันทันสมัย ถ่ายทอดผ่านแขนกลอัตโนมัติที่จะบรรเลง Xylophone และกลองทัด ร่วมกับวงดนตรีไทยร่วมสมัย นำโดยขุนอิน ในบทเพลงพระราชนิพนธ์ “ใกล้รุ่ง” และเพลงไทยร่วมสมัยที่แต่งขึ้นใหม่โดย ขุนอิน ประกอบการแสดงจินตลีลาอันตระการตา เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
นิทรรศการตำนานความสำเร็จของงาน BOI FAIR ทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา (ปี 1995 ที่แหลมฉบัง และปี 2000 ที่เมืองทองธานี)
SMEs Hall of Fame นำเสนอภาพความสำเร็จของ SMEs ไทยชั้นนำที่เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยการสนับสนุนจาก BOI โดยจัดแสดงในรูปแบบ Pillar ลอยตัวพร้อมจอ LCD
ภาพยนตร์ 4 มิติ “สู่อนาคตการลงทุนสีเขียว”” (ความยาว 7-8 นาที) นำเสนออนาคตแห่งการลงทุนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และนวัตกรรมสีเขียวที่นำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีน้องช้าง Jumbo-i พาทุกท่านไปสู่โลกแห่งการลงทุนสีเขียวเสมือนจริงกับเทคนิคพิเศษรายรอบตัว เช่น ใบไม้ไหว ดอกหญ้าปลิว ผีเสื้อบิน สายลมพัดโชย ละอองน้ำ



ศาลา บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน)
เปลี่ยนตู้บรรทุกสินค้าของ Double A ให้กลายเป็นบูธขนาดใหญ่หลังจากเสร็จงาน สามารถประกอบกลับคืนเป็นตู้บรรทุกสินค้าใหม่ได้อีกครั้ง
สวน Paper Park นอกจากจะให้ผู้ชมพักผ่อนแล้ว ยังช่วยให้สามารถเข้าใจบทสรุปของ Paper of the World ของ Double A ได้ง่ายขึ้น
กิจกรรม “One Check-in, One Paper Tree, for Better World” ทุกหนึ่งการ Check in ที่ศาลา Double A เท่ากับการได้บริจาคต้นกระดาษ 1 ต้น เพื่อจะนำไปให้เกษตรกร โรงเรียน หรือชุมชน ที่สนใจนำต้นกระดาษไปปลูกเพื่อช่วยลดโลกร้อนและเสริมสร้างรายได้



ศาลา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
The Synchronized of PTT Group Group นำเสนอภาพรวมการดำเนินธุรกิจของ กลุ่ม ปตท. ด้วย Multimedia ผสมผสานกับการแสดงสดในรูปแบบ Acrobatic และ Stomp Band พร้อมการบรรเลงเปียโน
4 D Adventure นำเสนอเรื่องราวการกำเนิดปิโตรเลียม และการค้นหาแหล่งปิโตรเลียมผ่านระบบ 4D พร้อม Effect ตื่นตาตื่นใจ พบกับไดโนเสาร์ที่จะมาเซอร์ไพร้ส์ และสร้างสีสันให้กับผู้ชม พร้อมที่นั่งระบบ Simulator
Sustainable Value Creation นำเสนอเรื่องราวปิโตรเคมีที่ผูกพันกับชีวิตประจำวัน และนวัตกรรมใหม่ๆ ในอนาคตที่จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนดีขึ้นกว่าเดิม ด้วยเทคนิคการฉายแบบ Mapping Video
Green Process, Green Product เรียนรู้ธุรกิจสีเขียวของ กลุ่ม ปตท. ด้วยเกมส์ Interactive ที่ให้ทั้งความรู้และความสนุกสนาน
เทิดพระเกียรติในหลวง และโครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง นำเสนอภาพ “พระบิดาแห่งพลังงานไทย” ด้วยเทคนิคการฉายภาพผ่าน Plasma และนำเสนอโครงการรักษ์ป่าสร้างคน 84 ตำบลวิถีพอเพียง ซึ่ง ปตท. ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินการ โดยจะนำเสนอผ่าน Diorama



ศาลา สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน.
การแสดงแสงสีเสียงสื่อผสม ด้วยเทคโนโลยี Mapping บนอาคารสถาปัตยกรรมศาลาไทยกลางน้ำ บอกเล่าเรื่องราวของประเทศไทยกับ World Expo และวิถีแห่งความยั่งยืนของไทย (ความยาว 8 นาที)
เปิดตัว Master plan ของงาน World Expo 2020 ที่อยุธยา เป็นครั้งแรก พร้อมการแสดงเทคนิคสื่อผสม เพื่อแสดงถึงความพร้อมและศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมระดับโลก
โซนนิทรรศการ ประกอบด้วย ภาพย้อนอดีต 140 ปี World Expo ซึ่งประเทศไทยเป็น 1 ใน 3 ชาติจากทวีปเอเชียที่เข้าร่วมงานเป็นครั้งแรก ภาพความสำเร็จของศาลาไทยที่ Shanghai World Expo 2010 ที่ได้เป็น 1 ใน 7 ศาลายอดนิยมของงาน และภาพการเตรียมพร้อมเข้าร่วมงาน International Expo 2012 ที่เมืองยอซู ประเทศเกาหลีใต้
ภาพยนตร์มัลติมีเดีย (ความยาว 6 นาที) แสดงศักยภาพและความมั่นใจว่าประเทศไทยและจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดงาน World Expo 2020

ศาลา เครือซิเมนต์ไทย
           นำเสนอเรื่องราวของ “เมืองกรุงเทพฯ ในอนาคต” ที่ซึ่งมนุษย์และธรรมชาติอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล ผู้คนใส่ใจและห่วงใยในสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด และรู้คุณค่า ดำเนินเรื่องโดย ปู่และหลาน ผ่านจอ Multimedia และ Model talker ขนาดใหญ่
           ย้อนกลับสู่อดีต ช่วงเวลาที่โลกใบนี้เกิดความเปลี่ยนแปลงและภัยพิบัติมากมายที่ผู้คน คาดไม่ถึง ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวถูกทำลาย โดยนำเสนอผ่านจอ 360 องศา พร้อมด้วยเทคโนโลยี 4D เพื่อให้ผู้ชมได้รู้สึกเสมือนอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ
          สัมผัสนวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัยในอนาคต ที่ SCG สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อรองรับความไม่แน่นอนของธรรมชาติ และตอบโจทย์ความต้องการและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คน
           Future Living รูปแบบที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมของโลกและภัยพิบัติ พร้อมประโยชน์ใช้สอยเพื่อรูปแบบการใช้ชีวิตในอนาคต ได้แก่

         SCG HEIM : บ้านที่รองรับแผ่นดินไหว โดยจะได้สัมผัสประสบการณ์แผ่นดินไหวขนาดสูงสุด 7.2 ริกเตอร์ เพื่อทดสอบความแข็งแกร่งของบ้าน SCG HEIM
          SCG Care : บ้านที่ได้รับการออกแบบเพื่อการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ โดยจะได้สัมผัสประสบการณ์จำลองเป็นผู้สูงอายุผ่านอุปกรณ์ เพื่อใช้ชีวิตในบ้าน SCG Care
           Bunker Cement : นวัตกรรมที่อยู่อาศัยจาก SCG Cement ที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อแรงลม แรงระเบิด และการกัดกร่อน
            Shelter : นวัตกรรมที่อยู่อาศัยผลิตจากเม็ดพลาสติก ใช้เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ โดยมีคุณสมบัติแข็งแรง มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย และลอยน้ำได้
            Future Natural นวัตกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้แนวคิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้คนได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติที่สวยงามมากขึ้น
            Future Building รูปแบบอาคารที่ถูกออกแบบให้มีพื้นที่สีเขียว โครงสร้างแข็งแรงทนทาน อายุใช้งานยาวนาน ลดการใช้ทรัพยากร และใช้พลังงานจากธรรมชาติ
             Future Business การดำเนินธุรกิจที่ตอบรับความสะดวกสบายของการใช้ชีวิตในอนาคต นำเอาเทคโนโลยีที่
มีความก้าวหน้ามาใช้ แต่ยังคงคำนึงถึงสังคม และสิ่ง
แวดล้อม เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน 


SCG HEIM

คือบ้านแห่งนวัตกรรมสำหรับชีวิตล้ำสมัย ที่นำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาตอบรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย มั่นใจ และคุ้มค่าอย่างแท้จริง รวมทั้งยังดีสำหรับสุขภาพของผู้อยู่อาศัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จุดเริ่มต้นของ บ้านแห่งนวัตกรรม SCG HEIM

เกิดจากบริษัท เอสซีจี ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด (ซึ่งเป็นผู้นำด้านวัสดุก่อสร้าง ที่ได้รับความเชื่อถือจากคนไทยมายาวนาน) มีความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการอยู่อาศัยให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงได้นำเอาเทคโนโลยีการก่อสร้างจากบริษัท เซกิซุย เคมิคอล จำกัด (ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับความนิยมจากญี่ปุ่น เรื่องการก่อสร้างบ้านระบบโมดููลาร์ ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 40 ปี) มาผสมผสานกับการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างคุณภาพของเอสซีจี เพื่อตอบรับกับปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับบ้านที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ตั้งแต่ขั้นตอนการก่อสร้างจนถึงการอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการก่อสร้างที่ล่าช้า ปัญหางบบานปลาย หรือปัญหาที่เกี่ยวกับการอยู่อาศัย เช่น บ้านร้อน มีฝุ่น หรือเสียงดัง จนรบกวนการอยู่อาศัย จนได้ SCG HEIM บ้านแนวคิดใหม่ที่สามารถนำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยทำให้การใช้ชีวิตสะดวกสบาย ตอบทุกความต้องการในเรื่องของการอยู่อาศัยและตอบโจทย์กับทุกไลฟ์สไตล์อย่างลงตัว




นับถอยหลังสังคมคนชรา "SCG Care"บ้านผู้สูงอายุ (สกู๊ปแนวหน้า)
ได้รับความสนใจเป็นอย่างดี สำหรับงาน "BOI Fair 2011" ภายใต้แนวคิด "โลกสดใส ไทยยั่งยืน" หรือ "Going Green for the Future" ตั้งแต่วันนี้ถึง 20 มกราคม 2012 ณ อิมแพค เมืองทองธานี โดยการ จัดงานครั้งนี้นอกจากเป็นงานแสดงเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ จากผู้ผลิตระดับโลกแล้ว ยังเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบอีกด้วย

งานนี้ "เครือซิเมนต์ไทย" (SCG) ได้สร้าง "SCG Pavilion" ภายใต้แนวคิด มุ่งมั่นสร้างสรรค์ นวัตกรรม ที่คำนึงถึงคุณค่าของชีวิตมนุษย์ รวมทั้งผลกระทบต่อผู้คน รอบข้าง สังคม และสิ่งแวดล้อม ผู้เข้าชมจะได้พบกับนวัตกรรมล้ำยุคมากมาย

แต่ไฮไลท์เด่น ที่น่าสนใจและใกล้ตัวกับคนไทยมากที่สุดคงหนีไม่พ้น "บ้าน SCG Care" ที่ออกแบบเพื่อต้อนรับสังคมผู้สูงอายุของเมืองไทยโดยเฉพาะ

บ้าน SCG Care ออกแบบภายใต้แนวคิด เพื่อให้ทุกคนที่อยู่ในสังคมสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่อใช้ ไม้สอยในบ้านได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียมกันโดยคำนึงถึงการ ใช้งานให้คุ้มค่า สมประโยชน์ครอบคลุมสำหรับทุกคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ จะสามารถ ดำรงชีวิตได้อย่างอิสระ พึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด และมีความปลอดภัยสูงในการอยู่อาศัยอย่าง สุขกาย-สบายใจ ในบั้นปลายของชีวิต

ทั้งนี้ บ้าน SCG Care จะมีการออกแบบ ให้มีแสงสว่างเพียงพอสำหรับผู้สูงอายุ, มีทางเดินที่กว้างขวางสะดวกต่อการใช้งาน, ความสูงของชั้นวางของ สามารถเอื้อมหยิบสิ่งของได้, มีระดับและขนาด



ของราวจับที่เหมาะสม, พื้นแต่ละห้องมีระดับเดียวกัน, ใช้ประตูบานเลื่อนเพื่อให้เปิดปิด ได้ง่าย, เก้าอี้นั่งอาบน้ำมีขนาดที่เหมาะสม สามารถปรับระดับสูง-ต่ำ ตามความสูงของผู้ใช้งาน, มีราวจับพยุงตัว ฯลฯ

นับถอยหลังสังคมผู้สูงอายุ

สอดคล้องกับข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประมาณการว่า ในปี 2568 หรืออีก 13 ปีข้างหน้า ไทยจะมีจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่ 7.6 ล้านคน เป็น 14.5 ล้านคน นั่นหมายความว่า เมืองไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ

ประเด็นที่น่าสนใจคือ จากการสำรวจของ สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ปี 2551-2552 begin_of_the_skype_highlighting            2551-2552      end_of_the_skype_highlighting พบว่า ในรอบ 6 เดือน มีจำนวน ผู้สูงอายุไทยราว 1 ใน 5 เคยประสบอุบัติเหตุ "หกล้ม" ทั้งในและนอกที่พักอาศัย ที่พบมากคือหญิงสูงวัย มีอัตราส่วนการหกล้มในบริเวณบ้านมากกว่าผู้สูงวัยที่เป็นชาย ที่มักหกล้มนอกบ้าน ซึ่งสาเหตุของการหกล้มอันดับต้นๆ ของทั้งหญิงและชายสูงวัยนั้น คือ ลื่น, สะดุดสิ่งกีดขวาง, และเสียการทรงตัวอันเนื่องจากการออกแบบบ้านที่ไม่เหมาะสม

ระวังห้องน้ำ-ราวบันได-แสงสว่าง

รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ ผู้เชี่ยวชาญจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยให้สัมภาษณ์ถึงสาเหตุปัญหาของการหกล้มในผู้สูงวัยไว้ว่า เมื่อมีอายุมากขึ้นร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบที่ไม่รู้ตัว ทั้งแง่กายภาพและสรีระ เช่น ความสูงที่จะลดลงเฉลี่ย 2-5 ซม. เตียงที่เคยนั่งนอนมาทั้งชีวิต วันหนึ่งลุกขึ้นมานั่งขอบเตียงปรากฏว่าวางเท้าไม่ถึงพื้นเสียแล้ว ไหนจะเป็นชักโครก เก้าอี้ก็จะเกิดปัญหา ในลักษณะเดียวกัน ซึ่งอาจมีโอกาสพลาดหกล้มได้

"แม้แนวคิดของการปรับสภาพแวดล้อมให้เป็นมิตรกับผู้สูงวัย ดูเหมือนเริ่มจะได้รับการยอมรับจากสังคมมากขึ้น แต่ในแง่ของการปฏิบัติจริงๆ ยังน่าเป็นห่วง เพราะจากการสำรวจอาคารต่างๆ ทั่วประเทศ 48,000 อาคาร จะมีอาคารที่อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของผู้สูงวัยอยู่เพียง ร้อยละ 10 หรือ 4 พันอาคารเท่านั้น ประมาณการกันว่า พื้นที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นวัด ตลาด สวนสาธารณะหรือแม้แต่โรงพยาบาลต่างๆ มีสิ่งอำนวยความสะดวก ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุไม่ถึงร้อยละ 30 เท่านั้น"



โดยเฉพาะในบ้าน สิ่งที่ควรดูแลเป็นพิเศษ คือ ห้องน้ำและ ราวบันได แสงสว่างต้องมีเพียงพอ ลดความลื่นที่มาจากพื้นที่ต่างระดับในบ้านให้มากที่สุด และควรมีราวจับเพื่อพยุงตัวติดไว้ด้วย ซึ่งหลักการในบ้านนี้ สามารถนำไปออกแบบอาคารนอกบ้าน ทั้งที่ว่าการอำเภอ วัด โรงเรียน โรงพยาบาล ตลาด ศูนย์การค้า

การที่จะนำแนวคิดไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมนั้นไม่ใช่เรื่อง ทำได้ง่ายหากไม่ใช่ด้วยนโยบายของภาครัฐซึ่งอาจารย์ไตรรัตน์ ให้ข้อเสนอแนะว่า "ภาครัฐต้องมีการแก้ไขข้อกฎหมายที่มุ่งเน้นการออกแบบพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุ ไม่เพียงครอบคลุมเฉพาะอาคาร ที่อยู่อาศัย แต่ต้องรวมถึงถนนหนทางและยานพาหนะโดยเสนอให้ภาครัฐประกาศเป้าหมายที่จะปรับอาคารส่วนราชการให้เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ทั่วทุกแห่ง"

เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย

ขณะที่ อาจารย์กตัญญู หอสูติสิมา อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในฐานะที่เคยรับผิดชอบ "โครงการพัฒนาต้นแบบสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ" โดยการสนับสนุนของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ในพื้นที่ภาคอีสาน อธิบายว่า บ้านผู้สูงอายุในชนบทมีความลำบากกว่าบ้านผู้สูงอายุที่อยู่ในเมือง เพราะส่วนใหญ่มีฐานะยากจนและมีสิ่งอำนวยความสะดวกไม่มาก บางบ้านไม่มีเลย

อาจารย์กตัญญูบอกต่อไปว่า การปรับปรุงบ้านนั้น ไม่จำเป็นต้องทำการปรับเปลี่ยนทั้งหลัง เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ จะใช้พื้นที่ซ้ำๆ เช่น ห้องครัว ห้องนอน ชานหน้าบ้าน เป็นต้น ซึ่งอาจปรับเปลี่ยนเฉพาะพื้นที่บริเวณดังกล่าวให้ง่ายและสะดวกต่อผู้สูงอายุ งบประมาณที่ใช้จึงไม่มาก รวมทั้งการปรับปรุงพื้นที่มักเกิดอุบัติเหตุลื่นหกล้มกับผู้สูงอายุเป็นประจำคือ ห้องน้ำและบันได

"ห้องน้ำ" ในบ้านชนบทที่พบส่วนใหญ่เป็นส้วมซึมราบติดกับพื้น หรือบางครั้งก็ยกสูงขึ้น มีปัญหากับผู้สูงอายุอย่างมาก ต้องนั่งยองๆ ไม่เหมาะกับไขข้อและกระดูกที่เสื่อมลง แถมบางแห่งยังลื่นมากจึงเกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง ดังนั้นจึงควรปรับปรุงเป็นโถนั่งแทนพร้อมมีราวจับ ขณะที่ประตูห้องน้ำควรเป็น




ลักษณะดันเปิดออกจากภายในห้องน้ำ เพื่อให้ง่ายสะดวกต่อการเข้าไปดูแลกรณีมีเหตุฉุกเฉิน

เช่นเดียวกับ "บันได" ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่มีลักษณะที่สูงลาดชัน และคับแคบ บางแห่งยังมีลักษณะเป็นบันไดลิง ยากต่อการก้าวย่างของ ผู้สูงอายุ แถมบางครั้งราวจับบันไดยังไม่หนาแน่นพอ จึงมีผู้สูงอายุจำนวนมาก ที่พลัดตกจากบันไดลงมา ฉะนั้นหากเป็นไปได้ควรให้ผู้สูงอายุอยู่ที่ชั้นล่าง ไม่เช่นนั้นต้องขยายความกว้างของบันไดและปรับปรุงราวจับที่มั่นคงแข็งพอ ให้สามารถพยุงตัวได้ง่าย และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ ที่ทำให้ง่ายต่อการสะดุดและหกล้ม รวมไปถึงการปรับพื้นต่างระดับให้เป็นรูปแบบลาดเอียง

"นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการปรับแสงไฟ ที่ต้องไม่จ้าจนทำให้พร่ามัว หรือมืดจนเกินไป รวมไปถึงการติดตั้งกริ่งสัญญาณที่บริเวณเตียงนอน เพื่อขอความช่วยเหลือ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ลูกหลานสามารถ ทำได้ทันที เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับท่าน บ่งบอกถึงความ เอาใจใส่ดูแล" อาจารย์กตัญญู กล่าว
การปรับปรุงที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ถือเป็นเรื่องจำเป็น ที่ลูกหลานไม่ควรมองข้าม!!




ต้นแบบนวัตกรรม “Cement Bunker” ในบีโอไอแฟร์ 2011
ดร.ปริญญา สายน้ำทิพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม จำกัด ในเอสซีจี ซิเมนต์ นำโมเดลต้นแบบนวัตกรรม “Cement Bunker” เปิดตัวเป็นครั้งแรกที่ เอสซีจี พาวิลเลียน ในงานบีโอไอแฟร์ 2011 ซึ่งจัดขึ้นวันที่ 5-20 มกราคมนี้ ที่เมืองทองธานี
Cement Bunker เป็นที่อยู่อาศัยทรงกระบอกระบบปิด สร้างจากนวัตกรรมปูนซีเมนต์ที่ทนต่อแรงกระแทก (Shock Resistance) แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว แรงระเบิด รวมถึงทนต่อการกัดเซาะของคลื่นทะเลและลมพายุ ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าว เป็นหนึ่งในหลากหลายนวัตกรรมที่เอสซีจีได้คิดค้นและพัฒนาขึ้น เพื่อรองรับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนของธรรมชาติ ทั้งยังตอบโจทย์ความต้องการและการสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของมนุษยชาติ


เอสซีจี ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (SCG Building Materials)

http://www.siamcement.com/images/share/spacer.gif

ภาพรวมธุรกิจ


เอสซีจี เริ่มเข้าสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ในปี พ.ศ. 2481 ปัจจุบันธุรกิจฯ ผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง และสินค้าตกแต่งหลากหลายประเภท ประกอบด้วย
ผลิตภัณฑ์หลังคา กระเบื้องเซรามิก สุขภัณฑ์ ก๊อกน้ำ บล็อกปูถนน ฉนวนกันความร้อน โดยใช้เทคโนโลยีการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการออกแบบที่ทันสมัย
ระดับสากล รวมทั้งมีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญสูง ทำให้ธุรกิจฯ เป็นผู้นำทั้งตลาดในประเทศและภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ได้มีการจัดตั้งบริษัทเพื่อดำเนินธุรกิจ
ในหลายประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ขณะเดียวกันธุรกิจฯ ได้ขยายฐานการส่งออกอย่างต่อเนื่อง โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญ
ได้แก่ กลุ่มอาเซียน สหรัฐอเมริกา ยุโรป และออสเตรเลีย
ธุรกิจฯ นำแนวคิดด้านนวัตกรรมมาพัฒนาสินค้าและบริการ โดยเน้นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และสอดคล้องกับความต้องการและรูปแบบการดำเนินชีวิต
ของลูกค้า
ธุรกิจฯ ให้ความสำคัญกับการบริหารคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้บริษัทได้รับรางวัลสำคัญหลายรางวัล อาทิเช่น Deming Application Prize จากสมาพันธ์
นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรแห่งญี่ปุ่น และ Prime Minister Export Award จากกรมส่งเสริมการส่งออก
ข้อมูลทางการเงิน เอสซีจี ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (SCG Building Materials)
2553
2552
2551
2550
2549
ข้อมูลจากงบดุล (ล้านบาท)
สินทรัพย์หมุนเวียน
9,259
8,677
8,326
7,576
7,745
สินทรัพย์
24,796
22,991
22,654
19,863
20,595
หนี้สิน
14,209
13,916
15,435
13,540
14,180
ส่วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะบริษัท และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
10,587
9,075
7,219
6,323
6,415
ข้อมูลจากงบกำไรขาดทุน (ล้านบาท)
ขายสุทธิ
30,719
26,973
23,351
21,281
22,745
ต้นทุนและค่าใช้จ่าย
28,519
25,135
22,739
20,536
20,379
กำไรสุทธิก่อนรายการที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำ*
1,816
1,538
754
950
1,799
กำไรสุทธิ **
1,872
1,617
778
950
1,939
EBITDA***
5,489
4,907
4,085
3,928
4,856

* กำไรก่อนกำไร (ขาดทุน)จากการขายเงินลงทุนและสินทรัพย์ในการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ ค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุนและอื่นๆ - สุทธิจากภาษีเงินได้
** กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่
*** กำไรก่อนภาษีเงินได้ ต้นทุนทางการเงิน ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย รวมเงินปันผลรับจากบริษัทร่วม





สินค้าสำคัญและกำลังผลิตต่อปี


- กระเบื้องหลังคา
80 ล้านตารางเมตร
- กระเบื้องเซรามิก*
120 ล้านตารางเมตร
- บล็อกปูถนน
3.5 ล้านตารางเมตร
- สุขภัณฑ์
2.7 ล้านชิ้น
- ก็อกน้ำ
10 ล้านชิ้น
- แผ่นฝ้าและผนัง
50 ล้านตารางเมตร
* รวมกำลังผลิตของบริษัทร่วม

นาย วัชรา  พรหมรัตน์  5402035  sec1

นาย วชิรพงษ์ จันทรวิสุทธิ์กุล  5405270  sec1

นางสาว รุ่งฤดี   ใจกล้า    5406934  sec1

นาย  อภิชัย   ผาริโน   5405041  sec1

นางสาว อรพรรณ วัฒนะจินดาวงศ์   5406084  sec1

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

ASSIGNMENT01

ASSIGNMENT02


รายละเอียดข้อมูล

หมู่บ้าน  ชาวประมง ติดริมทะเล  บริเวณหมู่บ้านมีลักษณะเป็นเกาะ  มีทางเข้าทางเดียว  ติดกับโรงงาน 

ผลิตน้ำมันชื่อดังของประเทศไทย  ที่ อำเภอเมือง  จังหวัดระยอง  มีชื่อหมู่บ้านว่า  หมู่บ้านโป๊คแลนด์

เป็นบ้านชั้นเดียว ลักษณะบ้านค่อนข้างต่ำ และทำด้วยไม้เกือบทั้งหลัง หลังคามุงกระเบื้องสลับกับสังกะสี